วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

สมุนไพรแช่เท้า ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

สมุนไพรแช่เท้า ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 


           ผู้ป่วยเบาหวานสิ่งที่น่าห่วงนอกเหนือจากการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังต้องระมัดระวังบาดแผลโดยเฉพาะบริเวณเท้า เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการชาจนไม่รู้สึกเจ็บเมื่อเกิดบาดแผลแล้วไม่ดูแลให้ดี อาจติดเชื้อสุดท้ายต้องตัดทิ้ง ดังนั้นจึงมีแนวคิดบูรณาการความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบัน คิดวิธีป้องกัน ส่งเสริมและฟื้นฟูดูแลเท้าด้วยตนเองให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยใช้แพทย์แผนไทยและสมุนไพรมาใช้ร่วมกัน จนได้น้ำสมุนไพรแช่เท้า

วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน 2.เพื่อเป็นการเฝ้าระวังภาวะความเสี่ยงของแผลที่เท้า 
3.เพื่อให้เกิดทักษะในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

ส่วนประกอบสมุนไพร

          การใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนและเย็น

1. มะกรูด 1กำมือ สรรพคุณ  ผิวมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยช่วยทำให้ผ่อนคลาย และช่วยให้ผิวหนังนุ่ม
2. ไพล 1กำมือ สรรพคุณ  แก้ปวดเมื่อย และแก้ฟกช้ำ บวม
3. ขมิ้นชัน 1กำมือ สรรพคุณ  แก้คันและฆ่าเชื้อรา
4. ใบย่านาง 1กำมือ สรรพคุณ  มีฤทธ์เย็น ช่วยป้องกันไม่ให้เสื้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังแตกได้ง่าย รักษาอาการอักเสบที่โคนเล็บ รักษาอาการส้นเท้าแตก 
5. น้ำอุ่นประมาณ 2 ลิตร
    (สมุนไพรทั้งหมดล้างน้ำให้สะอาดฝานเป็นแว่นผสมกับน้ำอุ่น)

ขั้นตอนการแช่เท้า

1. ทำความสะอาดเท้า โดยใช้สบู่ฟอกที่เท้าและใช้แปรงขนนุ่มถูจนเท้าสะอาด แล้วล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด
2. แช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรนาน 10 นาที โดยการแช่ 3 นาทีแล้วยกเท้าขึ้นจากน้ำอุ่น 1 นาที ทำซ้ำจนครบ 3 รอบ โดยทำวัน 1-2 ครั้ง 

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เว็บบล็อกของเพื่อนๆ

การดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน



การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน



เบาหวาน (Diabetes Mellitus)

 โรคเบาหวานเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก อุบัติการณ์ของโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ(International Diabetes           Federation) พบว่าผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง 20-79 ปี ว่ามีจำนวน 285 ล้านคน และในปี 2553 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 438 ล้านคน และในอีก 20 ปีข้างหน้าในจำนวนนี้ประมาณ 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นคาดว่าจะเพิ่มจาก 58.7 ล้านคน ในปี 2553 เป็น 101 ล้านคน ในปี 2573 คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 72 (International Diabetes Federation, 2009) สำหรับการคาดประมาณจำนวนประชากรที่เป็นโรคเบาหวานในอนาคตของประเทศไทยโดยสำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อพบว่าระหว่างปี ..2554-2563 จะมีจำนวนประชากรที่เป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 501,299 -553,941 คน/ปี และในปี .. 2563 จะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่สูงถึง 8,200,000 คน ประเทศไทยได้กำหนดโรคเบาหวานเป็นโรควิถีชีวิตที่สำคัญหนึ่งในห้าโรคที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ..2554 -2563 (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข , 2554) จากการสำรวจสุขภาพคนไทยครั้งล่าสุดในปี .. 2554 พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรัง          ..2544 - 2552 มีผู้ป่วยเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก 288 คน เป็น 736 คนต่อประชากรแสนคน (กนิษฐา, 2554) เบาหวานเป็นโรคที่เป็นกันมากขึ้นทุกปีจนมีการกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก โดยให้มีการรณรงค์ป้องกันให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เพื่อให้ความรู้ระดับความเสี่ยงและโอกาสของเกิดโรค ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้ตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงของตนเองและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่สภาวะแทรก ซ้อนที่รุนแรงได้ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังและเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ นอกจากพันธุกรรมแล้วสิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วย เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมากๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย เป็นต้น

อินซูลิน กับ เบาหวาน
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มเซลล์ภายในตับอ่อน มีหน้าที่ในการนำน้ำตาลในเลือด ไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างพลังงานและสร้างเซลล์ต่างๆ โดยปกติแล้วเมื่อมีน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดตับอ่อนก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่ง อินซูลิน แล้วอินซูลินก็จะเข้าจับน้ำตาล เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น


ประเภทของเบาหวาน

เบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
โรคเบาหวานชนิดที่1 (Insulin dependent diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก โดยเกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลินหรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว และถ้าเป็นรุนแรงจะมีการคั่งของสารคีโตน (ketones) สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้หมดสติถึงตายได้
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Non-Insulin dependent diabetes) เป็นเบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่มีความรุนแรงน้อยกว่าประเภทแรก มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับพันธุกรรม นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมากและขาดการออกกำลังกาย มีลูกดกอีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น โดยเซลล์ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ หรือเซลล์ตับอ่อนของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมี ภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด


อาการเบื้องต้นของเบาหวาน  

1. ปวดปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน  
2.กระหายน้ำและดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง
3.เบื่ออาหารอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
4. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน  
5.ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติเช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก
6.สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน  
7.อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง  
8.อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต


อาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน  

1.ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy) เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของหลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนาแต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision (ตาพร่ามัว) หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง ตาหรือจอตาเสื่อม หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา และอาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด  
2.ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy) ไตมักจะเสื่อมจนเกิดภาวะไตวาย พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ  
3.ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) เบาหวาน จะทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เช่นรู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ เมื่อผู้ป่วยมีแผลผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่าและนำไปสู่ Amputation ในที่สุด ในผู้ชายอาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(impotence)  
4.โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) เบาหวาน เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจากเบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายในผู้ป่วยเบาหวานบางรายกล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือมีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจากเส้นเลือดฝอยเล็กๆที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจากเบาหวาน ซึ่งจะทำการรักษาได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้เป็นเบาหวานคือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่นอาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป ดังนั้นผู้เป็นเบาหวานบางราย อาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์ วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้  
5.โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้เป็นเบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกาย และถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมองก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า โดยจะมีอาการเบื้องต้นสังเกตได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็นครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน    เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง  
6.โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
7.แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)


การป้องกันการเป็นเบาหวาน

1. ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอันจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน
2. ควบคุมโภชนาการ ให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค
3. ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอโดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และระยะเวลาห่างในการ ตรวจที่เหมาะสม
4. ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือสมุนไพรเหล่านี้


การวินิจฉัยเบาหวาน

หากสงสัยว่าเป็นเบาหวาน ควรไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลโดย อดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะเลือดในตอนเช้าเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6 ชั่วโมง (FPG) ซึ่งคนปกติจะมีค่าต่ำกว่า 110 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร หากพบมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัม ในการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน และยิ่งมีค่าสูงเท่าใดก็แสดงว่ามีความรุนแรงของการเป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้น


Anatomy of foot



การเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, 1995อ้างถึงใน ศิริพร จันทร์ฉาย, 2548) ให้คำนิยามคำว่า เท้าเบาหวาน (Diabetic foot) ไว้ว่า หมายถึง กลุ่มอาการของเท้าที่เกิดจากปลายประสาทเสื่อม เส้นเลือดส่วนปลายตีบตัน และการติดเชื้อซึ่งก่อให้เกิดบาดแผล และนำไปสู่การสูญเสียการทำงานหรือการถูกตัดขาได้
พยาธิสรีรวิทยาของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานทำให้เกิดความผิดปกติในระบบหลอดเลือด มีผลทำให้เกิดการเสื่อมของเส้นประสาท และหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุชักนำให้เกิดแผล และภาวะแทรกซ้อนที่เท้าได้ดังนี้
1. ความผิดปกติในระบบหลอดเลือดฝอย (Microvascular complication) ทำให้เกิดการหนาตัว ของเบสเมนท์เมมเบรน (Basement membrane) และผนังหลอดเลือด (Vascular endothelial cell) ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง (วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ, 2549) 14
2. ความผิดปกติในระบบหลอดเลือดใหญ่ (Macrovascular complication) เกิดจากการแบ่งตัว ของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดทำให้หนาตัวขึ้นร่วมกับการตีบแข็งของหลอดเลือดแดง จากการที่มี ไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดงจะมีแมคโครฟาจ (Macropharge) มาจับกิน เกิดการอักเสบเรื้อรัง และ การบาดเจ็บที่ผนังหลอดเลือดแดง ในที่สุดเกิดการฉีกขาดของผนังหลอดเลือด มีเกร็ดเลือดมาเกาะตัว นอกจากนั้นระบบการไหลเวียนเลือดยังมีความผิดปกติจากการทำงานของเกร็ดเลือดเกาะตัว และเลือดมี การแข็งตัวง่ายขึ้น ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบแคบ (วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ, 2549) ซึ่งการสูบบุหรี่ ภาวะความดัน โลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดหลอดเลือดตีบแข็ง จนทำให้เกิดหลอดเลือดแดง ส่วนปลายตีบตัน (Peripheral aterial disease [PAD]) (Clayton & Elasy, 2009)


ทำไมต้องดูแลเท้าเป็นพิเศษ ?

เพราะผู้ที่เป็นเบาหวานมักจะมีความผิดปกติของปลายประสาทโดย เริ่มที่ปลายเท้าก่อน ทำ ให้มีเท้าชาผิดรูป เกิดหนังด้านและเกิดแผล หรือหาก ไม่ระวังอาจเดินไปเตะหรือเหยียบของแหลมคม และเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว จะรู้ อีกทีว่าเท้ามีแผลก็คือมีคนอื่นทักหรือมองเห็นว่ามีเลือดไหลที่เท้า การเป็นเบา หวานทำ ให้แผลหายยากกว่าธรรมดา อีกทั้งการที่ไม่รู้สึกเจ็บทำ ให้ยังใช้เท้าเดิน ลงน้ำ หนักตามปกติต่อไป แผลจึงถูกกดเหยียบกระแทกตลอดเวลา ทำ ให้แผล ที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถหายได้


 สาเหตุที่ผู้เป็นเบาหวานเกิดแผลที่เท้าง่ายกว่าคนปกติ

1.      ผู้เป็นเบาหวานมานาน ส่วนใหญ่พบมีอาการเสื่อมของประสาทส่วนปลายที่ไปเลี้ยงมือและเท้า การรับรู้ความรู้สึกน้อยลงเกิดอาการชาโดยเฉพาะนิ้วเท้า เป็นแผลโดยไม่รู้ตัวหรือกว่าจะสังเกตพบแผลก็ลุกลามไปมาก เมื่อประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อขาและเท้าเสื่อม กล้ามเนื้อจะแฟบลงทำให้รูปร่างของเท้าผิดปกติ นิ้วเท้างอขึ้นเท้ารับน้ำหนักไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่รับน้ำหนักมากหรือถูกกดอยู่เป็นเวลานานจะหนาขึ้นเกิดเป็นตาปลาหรือเป็นแผล
2.      การไหลเวียนของโลหิตที่ไปสู่ขาลดลง เนื่องจากผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้น ทำให้ขาดออกซิเจน ผิวหนังจะบางลง แผลหายช้า เกิดอาการปวดน่องเวลาเดิน ถ้าเป็นมากจนหลอดเลือดอุดตันเนื้อเยื่อส่วนปลายจะตายมีสีคล้ำดำขึ้น จนต้องตัดนิ้วหรือนิ้วแห้งดำหลุดไปได้
3.      ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในโลหิตสูงอยู่นาน จะเกิดการติดเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะเชื้อราที่ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้า ทำให้ผิวหนังถลอกมีแผลเกิดขึ้น อาจจะมีเชื้อโรคที่รุนแรงเกิดขึ้นตามมา


วิธีดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

1. ควบคุมระดับน้ำ ตาลในเลือดและตรวจเช็คค่าความดันโลหิตให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดและปลายประสาทที่เท้าเสื่อม
2.ทำ ความสะอาดเท้าทุกวัน เช็ดเท้าให้แห้งทันทีด้วยผ้าเช็ดตัวหรือผ้า นุ่มที่สะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามซอกระหว่างนิ้วควรเช็ดให้แห้งสนิท เพื่อ ป้องกันการอับชื้นซึ่งเป็นสาเหตุทำ ให้เกิดแผลได้ง่าย ห้ามใช้แอลกอฮอล์เช็ด เท้าทำความสะอาดเท้า เพราะจะทำ ให้เท้าแห้งยิ่งขึ้นไปอีก
3. สำรวจเท้าและเล็บเท้าอย่างละเอียดทุกวัน ว่ามีแผล รอยแดง บวมหนังด้าน หรือมีเล็บขบหรือไม่ โดยเฉพาะตามซอกระหว่างนิ้วเท้าซึ่งเป็น จุดอับที่มักจะถูกมองข้าม โดยกำหนดให้การตรวจเท้าเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตร ประจำ วัน โดยเฉพาะถ้าเป็นรองเท้าคู่ใหม่ ในวันแรกต้องสำรวจดูเท้าหลังใส่ รองเท้าคู่ใหม่ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ว่ามีรอยกดรอยถลอกหรือไม
4. หากมีปัญหาเรื่องสายตา มองไม่เห็น มองไม่ชัด หรือไม่สามารถก้มลงสำรวจเท้าได้เอง ควรใช้กระจกสะท้อนส่องดู หรืออาจจะนั่งพาดกับโต๊ะ ส่องกระจกดู หรือให้ญาติหรือคนใกล้ชิดตรวจเท้าให้
5. ใช้ครีมหรือโลชันทาบางๆ บริเวณหลังเท้าและฝ่าเท้า แต่ห้าม ทาบริเวณซอกระหว่างนิ้วเท้าเพราะจะทำ ให้หมักหมม  อับชื้น และเกิดการติด เชื้อราได้ง่ายซึ่งถ้ามีการติดเชื้อราผิวหนังจะมีลักษณะเป็นขุย เป็นตุ่มแดง มี อาการคัน ต้องรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง
6. หากต้องใช้น้ำอุ่น ควรใช้ข้อศอกตรวจระดับความร้อนของน้ำ ก่อน ทุกครั้ง อุณหภูมิที่ปลอดภัย คือ ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส
7. หากมีอาการเท้าเย็นในเวลากลางคืน ให้ใส่ถุงเท้า ห้ามใช้กระเป๋า น้ำ ร้อน กระเป๋าไฟฟ้า ขวดน้ำ ร้อน ยาทาหรือยานวดที่ร้อน เช่นยาหม่อง หรือ แผ่นร้อนวางหรือทาบ บริเวณเท้าโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดแผลลวก หรือ เท้าพองโดยไม่รู้สึกตัว
8. ควรบริหารเท้าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน วันละ 2-3 ครั้ง ๆ ละ 5-10 นาที (ภาคผนวก)

9. ควรตัดเล็บทุกสัปดาห์หรือบ่อยกว่าเมื่อจำ เป็น อัตราการงอกของเล็บประมาณ0.1- 0.2 มม. ต่อวัน การปล่อยทิ้งไว้อาจ ทำ ให้เกิดเล็บขบหรือเล็บผิดรูปและเกิดการติดเชื้อตามมา ถ้าเล็บหนาตัดเอง ไม่ได้ควรให้ผู้เชี่ยวชาญการดูแลเท้าตัดเล็บให้ สำ หรับผู้ที่สามารถตัดเล็บได้ เองควรตัดเล็บภายหลังจากล้างเท้าและเช็ดเท้าแห้งแล้ว และควรตัดเล็บตาม แนวขอบเล็บเท่านั้น แล้วใช้ตะไบขัดเพื่อลบรอยคมและป้องกันการเกิดเล็บขบ


10. หากมีหนังด้านเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการดูแลหนังด้าน อย่างปลอดภัย การดูแลตนเองเบื้องต้นอาจทำ ได้โดยภายหลังอาบน้ำและเช็ด เท้าให้แห้งแล้ว ใช้หินขัดเท้าเนื้อละเอียดถูหนังด้าน ให้เหลือเพียงบางๆ โดยถูไปในทิศทางเดียวอย่างนุ่มนวล เพื่อไม่ให้ผิวแตกเป็นแผล ไม่ควรซื้อยากัดลอกตาปลามาใช้
11. ควรสวมถุงเท้าหรือถุงน่องที่ไม่แน่นเกินไป ก่อนใส่รองเท้าเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดแผลจากการเสียดสี ถุงเท้าที่ใส่ควรจะสะอาด นุ่ม และพอดี หากถุงเท้า มีตะเข็บควรกลับด้านในออกเพื่อไม่ให้ตะเข็บกดผิวหนังเป็นแผล และควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน ถ้าเป็นผู้ที่มีเหงื่อมากอาจจำ เป็นต้องเปลี่ยน ถุงเท้าในระหว่างวันด้วย
12. ตรวจดูรองเท้าภายในและภายนอกก่อนสวมใส่ทุกครั้ง เพื่อป้องกัน การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ข้างใน เช่น เศษหินกรวด หรือวัตถุใดๆ ตกค้างอยู่ ซึ่ง อาจทำ ให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว
13. ควรเลือกใส่รองเท้าที่พอดี ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสมกับรูปเท้า ไม่ใส่รองเท้าที่คับ และหน้าแคบจนบีบหน้าเท้า หรือสั้นจนนิ้วเท้างอ รองเท้าที่เหมาะสมควรกว้างและยาวพอสำ หรับนิ้วเท้าทุกนิ้ว สำ หรับรองเท้า คู่ใหม่ควรใส่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ประมาณครึ่งชั่วโมงในวันแรกๆ วันต่อไป ค่อยๆ เพิ่มเป็นหนึ่งชั่วโมงโดยสลับกับรองเท้าคู่เก่าแล้วเพิ่มเวลาในการใส่ให้ นานขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้รองเท้าค่อยๆ ขยายปรับตัวเข้ากับเท้าได้ดี
14. หากมีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับเท้าแม้เพียงเล็กน้อย ควรรีบไปพบแพทย์ ทันที เพื่อวินิจฉัยได้ทันท่วงที และสามารถแก้ไขได้แต่เนิ่นๆ เพราะถ้า มีแผลเกิดขึ้น แผลจะมีโอกาสลุกลามอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง เป็น สาเหตุของการถูกตัดขาหรือเท้าได้



ข้อห้ามปฏิบัติเกี่ยวกับเท้า

1. ห้ามสูบบุหรี่ เพราะจะทำ ให้เลือด ไหลเวียนไปที่เท้าลดลง มีโอกาส เกิดแผลได้ง่าย และเมื่อมีแผลเกิด ขึ้น จะทำ ให้แผลหายช้าลง

2. ควรหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง เพราะอาจจะกดทับเส้นประสาท บริเวณหัวเข่าได้

3. ห้ามสวมถุงเท้าหรือพันผ้ายืดรอบ ขาแน่นเกินไป เพราะจะทำ ให้เลือด ไหลเวียนไม่สะดวก

4. ห้ามแช่เท้าในน้ำ ทุกชนิด เพราะน้ำ จะชะเอาไขมันที่ผิวหนังออกไปทำ ให้ ผิวแห้ง และมีโอกาสเกิดแผลได้ง่าย ขึ้น

5. ห้ามตัดเล็บลึกถึงจมูกเล็บ และ ห้ามตัดลึกเข้าไปในมุมเล็บ ถ้ามี ปัญหาเรื่องเล็บควรปรึกษาแพทย์ หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญต่อไป




6. ห้ามตัดหนังด้านด้วยตนเอง เพราะผู้เป็นเบาหวานมักมีปัญหา เรื่องมือชา เท้าชาและสายตาไม่ ดี ทำ ให้มีโอกาสตัดพลาดไปถูก ผิวหนังบริเวณรอบๆ ได้

7. ห้ามใช้สารเคมีใดๆ ลอกหนัง ด้านด้วยตนเอง เพราะจะเป็น อันตรายต่อผิวและเกิดแผลได้

8. พยายามหลีกเลี่ยงการเดินเท้า เปล่าทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพราะอาจเดินเตะหรือเหยียบ สิ่งแปลกปลอมจนเกิดเป็นแผล ได้ นอกจากนี้การเดินเท้าเปล่า จะเพิ่มโอกาสในการเกิดหนังด้าน ที่ฝ่าเท้า และกัดเป็นแผลตามมา ได้เช่นกัน


9. ห้ามเดินเท้าเปล่าบนพื้นผิวที่ร้อน เช่น บนหาดทราย ระเบียงวัด หรือพื้นซีเมนต์ ควรสวมถุงเท้า หรือรองเท้า และทาครีมกันแดด บริเวณหลังเท้าเพื่อป้องกันแดดเผา

10. ห้ามใส่รองเท้าแตะประเภทคีบ ระหว่างนิ้วเท้า เพราะทำ ให้เกิด แผลตรงซอกนิ้วเท้าได้ง่าย


วิธีการซื้อรองเท้า

หลัก 10 ประการที่ช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานเลือกรองเท้าได้อย่าง เหมาะสมเท้าคู่นี้จะได้อยู่กับเรานานๆ
1. ลักษณะรองเท้าที่เหมาะสม รองเท้าที่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นเบาหวาน ควร มีส่วนปิดป้องกันปลายเท้าหากใช้เดินออกนอกบ้านควรจะหุ้มส้นเท้าด้วย ไม่ ควรมีตะเข็บแข็งอยู่ด้านใน วัสดุที่ใช้ทำ รองเท้าควรเป็นหนังหรือผ้า เนื่องจากมี ความยืดหยุ่นและสามารถถ่ายเทอากาศและความชื้นได้ดี
2. เลือกรูปทรงรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้า เลือกรูปทรงรองเท้าที่เหมาะสมและมีลักษณะ ใกล้เคียงกับรูปเท้าของเราก่อน แล้วจึงลอง ขนาดของรองเท้า
3. ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนของขนาดรองเท้า รองเท้าเบอร์เดียวกันจะมีขนาดต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ แม้รองเท้ายี่ห้อ เดียวกัน ถ้ารูปทรงต่างกันขนาดก็แตกต่างกัน ดังนั้นห้ามซื้อรองเท้าจากการดู เบอร์ ต้องลองสวมรองเท้าทั้งสองข้างก่อนซื้อทุกครั้ง
4. ลองสวมรองเท้าทั้งสองข้างเสมอ เท้าคนเราเปลี่ยนได้ทั้งขนาดและรูปร่างในแต่ละช่วงอายุ โดยเฉพาะเท้าผู้เป็น เบาหวานจะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าคนทั่วไป อีกทั้งคนส่วนใหญ่มักมีเท้าข้างใดข้างหนึ่งกว้างหรือยาวกว่าอีกข้างหนึ่ง ดังนั้นควรลองสวมรองเท้า ทั้งสองข้างก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง
5. ลองสวมเดินทุกครั้ง เมื่อเลือกรองเท้าได้แล้ว ต้องลองสวมเดินก่อนซื้อทุกครั้ง เพราะรองเท้าที่ดี ต้องสวมสบายทั้งในขณะนั่ง ยืนและเดิน
6. ความยาวของรองเท้าที่เหมาะสม ความยาวที่เหมาะสม คือ ใส่แล้วมีระยะระหว่างปลายนิ้วที่ยาวที่สุดกับปลาย ของรองเท้าเหลือประมาณ 3/8 – 1/2 นิ้วฟุต หรือเท่ากับขนาดความกว้าง ของนิ้วหัวแม่มือ
7. ความกว้างของรองเท้าที่เหมาะสม วามกว้างที่เหมาะสม คือ ส่วนที่กว้าง ที่สุดภายในรองเท้าควรกว้างเท่ากับ ความกว้างที่สุดของเท้าและอยู่ในตำแหน่ง ที่ตรงกัน
8. ส้นเท้าต้องอยู่พอดีกับส้นรองเท้า ตำแหน่งของส้นเท้าควรอยู่ตรงกับตำแหน่งของส้น รองเท้าและมีความ กระชับพอดี เมื่อเดินแล้วรองเท้าไม่เสียดสีและไม่หลุดจากส้นเท้ามากเกิน ไป
9. ถ้าใส่วัสดุเสริมในรองเท้าต้องเปลี่ยนขนาดรองเท้าให้เหมาะสม สำ หรับผู้ที่มีความจำ เป็นต้องใช้วัสดุหรืออุปกรณ์เสริมภายในรองเท้า เช่น แผ่นรองใต้ฝ่าเท้า วัสดุเหล่านี้ทำ ให้รองเท้าคับขึ้น ดังนั้นเวลาเลือก รองเท้าต้องใส่วัสดุเสริมในรองเท้าก่อนลอง เพื่อให้ได้ขนาดของรองเท้าที่ เหมาะสม
 10. เท้าเปลี่ยนขนาดได้ตามเวลาและชนิดของกิจกรรม เท้าเปลี่ยนขนาดและรูปร่างได้ในแต่ละช่วงของวัน เท้ามักจะขยายหลัง จากเดินมาก นั่งห้อยเท้านานๆ หรือออกกำลังกาย ดังนั้นก่อนเลือก รองเท้าต้องคำนึงถึงเวลาและกิจกรรมที่จะนำ ไปใช้ให้สอดคล้องกันด้วย



ภาคผนวก

การออกกำลังกายเท้า

มีวัตถุประสงค์เพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการ ไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า ท่าบริหารทำ ได้โดย
1. กระดกข้อเท้าขึ้นและลงสลับกันช้าๆ
2. หมุนข้อเท้า โดยหมุนเข้าและหมุนออกช้าๆ
3. ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าที่วางอยู่บนพื้นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้า
4. นั่ง ยกขาขึ้น เหยียดเข่าตึง แล้วกระดกข้อเท้าขึ้นค้างไว้นับ 1-6 ในใจถือเป็น 1 ครั้ง





การพบแพทย์เพื่อตรวจเท้า

       ควรบอกแพทย์เกี่ยวกับปัญหาที่เท้าเมื่อไปติดตามการรักษา
        -  หากพบว่ามีบาดแผลแม้เพียงเล็กน้อย ให้ทำความสะอาดและควรพบแพทย์ทันที
        -  ควรได้รับการตรวจเท้าโดยละเอียดจากแพทย์อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
        -  เท้าที่เคยเป็นแผล  ผิดรูป ชาไม่รู้สึก มีอาการขาดเลือด หรือมีรอยโรค ควรได้รับการตรวจทุกครั้งเมื่อไปพบแพทย์



อ้างอิง
นางสาว สุวิชา เตชะภูวภัทร นักกายอุปกรณ์ คลินิกสุขภาพเท้า โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่  http://www.sikarin.com/content/detail/
ศ.นพ.โสภณ จิรสิริธรรม http://www.nonthavej.co.th/healthy7-1.php
นางสาวอัจฉรา สุวรรณนาคินทร์ พยาบาลชำนาญการ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช สนับสนุนการพิมพ์โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ครั้งที่ 1 จำ นวน 5,000 เล่ม พ.ศ. 2557
ผศ.นพ.ณัฐพงศ์  โฆษชุณหนันท์ อายุรแพทย์ระบบต่อมไร้ท่อ  
http://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-58